‘ค้างคาว’ อาจเป็นที่มาของ 5 โรคติดต่ออันตราย !

'ค้างคาว' อาจเป็นที่มาของ 5 โรคติดต่ออันตราย !

คงจะเป็นเรื่องปกติกันอยู่แล้วที่วิถีชีวิตของเราไม่ค่อยจะได้ยุ่งเกี่ยวกับสัตว์ที่อาศัยอยู่ในถ้ำ อย่าง ค้างคาว เท่าไหร่นัก เว้นแต่จะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยว ชื่นชมธรรมชาติ และความงดงามของถ้ำที่อยู่ในป่า ซึ่งเราก็มักจะพบเจอกับฝูงค้างคาวที่เกาะอยู่ตามเพดานถ้ำเป็นจำนวนมาก และออกหากินในเวลากลางคืน รู้หรือไม่ ? ว่าค้างคาวนี่แหละอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคติดต่ออันตรายมาสู่มนุษย์ได้ ถึงแม้ในบ้านเราจะเป็นเรื่องใหม่ แต่ในต่างประเทศนั้นค่อนข้างตื่นตัวกับเรื่องนี้อยู่พอสมควร เนื่องจากโรคระบาดที่พบในค้างคาวได้คร่าชีวิตของผู้คนไปเป็นจำนวนมาก  วันนี้เราก็มีข้อมูลของ 5 โรคติดต่ออันตรายที่เกิดจากค้างคาวมาฝากกัน จะได้หลีกเลี่ยงทันยังไงล่ะ สุขภาพของเราก็จะไม่เสียอีกด้วย

5 โรคติดต่ออันตรายที่ได้จาก ‘ค้างคาว’

1. โรคติดเชื้อไวรัสอีโบาลา

ชื่อโรคนี้ใครหลายๆ คนอาจจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดี ซึ่งการติดเชื้อไวรัสอีโบลานี้เกิดจากการติดเชื้อที่มีมากถึง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Zaire , Sudan , Reston , Taï Forest และ Bundibugyo Ebolavirus ที่อยู่ในกลุ่ม Filovirus โดยหนึ่งในสายพันธุ์ที่ติดนั้นสามารถพบได้ในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด รวมไปถึงค้างคาวผลไม้ที่เคยมีการตรวจพบการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ ค้างคาวจึงกลายเป็นสัตว์อีกหนึ่งชนิดที่เป็นแหล่งสะสมเชื้ออีโบลาในธรรมชาติ

วิธีสังเกตว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา จะมีไข้สูง , ปวดศีรษะ , ปวดกล้ามเนื้อ , มีอาการก่อนเพลีย , ท้องเสีย , อาเจียน , เจ็บคอ และเกิดเป็นผื่นนูนแดงขึ้นตามตัว

วิธีป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าที่นำเข้ามาแบบไม่ผ่านการตรวจโรคทั้งที่ป่วย หรือไม่ป่วย อีกทั้งให้หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ทำจากสัตว์ป่าป่วยตายแบบไม่รู้สาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง ค้างคาว หรืออาหารที่เป็นเมนูพิสดาร ใช้สัตว์แปลกๆ มาประกอบเป็นอาหาร

2. โรคกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง

โรคนี้จะมีการพบเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า SARS-CoV (Severe Acute Respiratory Syndrome) พบได้ในสัตว์หลายชนิด อย่าง สุนัขแรคคูน หรืออีเห็นเครือ มีการคาดเดากันว่าเชื้อชนิดนี้ถูกแพร่ออกไปจากการจำหน่ายสัตว์ป่าเพื่อเป็นอาหารในประเทศจีน จึงทำให้เกิดการปนเปื้อน จากนั้นเชื้อก็ถูกแพร่ไปสู่มนุษย์ ต่อมาไม่นานก็มีการตรวจพบการติดเชื้อในค้างคาวมงกุฏที่อยู่ในประเทศจีน ทั้งยังพบการติดเชื้อในลิงชิมแปนซี , สุนัข , ไก่ , หนู , แมว และนกอีกด้วย ซึ่งโรคกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงนี้สามารถแพร่กระจายตัวจากสัตว์ไปคนและคนไปสู่คนได้ผ่านการไอรดใส่กัน , การจาม และการสัมผัสสิ่งปนเปื้อนละอองเสมหะของผู้ติดเชื้อ

วิธีสังเกตุว่าเป็นโรคกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง จะปวดเมื่อยตามตัว , มีไข้ , หนาวสั่น , เบื่ออาหาร , เจ็บคอ , หายใจหอบ บางครั้งอาจรุนแรงไปจนเกิดเป็นปอดอักเสบ หรือปอดบวมได้

วิธีป้องกันไม่ให้ติดโรคกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุ่นแรง คือ ต้องอยู่ให้ห่างจากผู้ติดเชื้อ ใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันละอองเสมหะของผู้ป่วย ตลอดจนไปไม่บริโภค หรือสัมผัสกับเนื้อสัตว์ที่ไม่สะอาด ไม่รู้แหล่งที่มา รวมถึงต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อเป็นการเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

3. โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์

สำหรับอาการติดเชื้อนี้เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ไปสู่คน โดยเกิดจากการสัมผัสกับมูลสัตว์ และสารคัดหลั่งของพาหะนำโรค อย่าง ค้างคาวผลไม้ ไปจนถึง หมู แมว ม้า แกะ และแพะที่ได้รับเชื้อมาจากค้างคาวผลไม้อีกทอดหนึ่ง ทั้งยังสามารถติดเชื้อจากคนไปสู่คนได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็น เลือด หรือน้ำลาย เป็นต้น

วิธีสังเกตว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ เบื่องต้นจะมีอาการปวดศีรษะ , มีไข้ , มีอาการอ่อนเพลียคล้ายกับเป็นไข้หวัดธรรมดา , เริ่มหายใจเร็วขึ้น หนักขึ้น , ไอเสียงดัง และเริ่มมีอาการแทรกซ้อนที่อันตราย อาทิ สมองอักเสบ , ปอดบวม ซึ่งหากปล่อยไว้ อาการก็จะหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้ายังไม่รีบไปดำเนินการรักษาก็อาจเสี่ยงเสียชีวิตได้

วิธีป้องไม่ให้เป็นโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ หลังจากที่ต้องสัมผัสกับสัตว์ ให้ล้างมือและทำความสะอาด ไม่กินสัตว์ที่ตายโดยไม่รู้สาเหตุและไม่กินเนื้อดิบ ไปจนถึงการไม่กินผักและผลไม้ที่มีรอยกัดแทะของสัตว์ในป่าจะดีที่สุด

4. โรคกลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลาง

โรคนี้มีอีกชื่อเรียก คือ โรคเมอร์ส เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่มไวรัสโคโรน่าที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหารได้ ซึ่งภายหลังที่มีการตรวจพบเชื้อไวรัสก่อโรคในกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงในค้างคาวแล้ว จึงมีการตรวจหาเชื้อไวรัสโรคกลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลางในค้างคาวด้วย จึงได้พบว่ามีเชื้ออยู่ในค้างคาวปีกถุงที่อยู่ในประเทศซอุดิอาระเบียบ แต่ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการติดเชื้อของโรคนี้จากค้างคาวไปสู่มนุษย์โดยตรง แต่ก็มีการค้นพบการติดเชื้อจากค้างคาวไปสู่อูฐ และอูฐสู่มนุษย์ในพื้นที่แถบประเทศตะวันออกกลาง สำหรับการติดต่อของเชื้อไวรัสชนิดนี้จะคล้ายกับการติดเชื้อของโรคซาร์สและโรคไข้หวัดทั่วๆ ไป เกิดจากการที่ผู้ติดเชื้อไอ หรือจามใส่ตรงๆ จากนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ก็จะสูดเอาละอองเสมหะ หรือสัมผัสกับละอองเสมหะของผู้ติดเชื้อผ่านทางข้าวของเครื่องใช้ แล้วนำมือมาเช็ดตา เช็ดจมูก โดยไวรัสชนิดนี้อาจรวมไปถึงการใกล้ชิดและสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อด้วย

วิธีสังเกตว่าติดเชื้อไวรัสโรคกลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลาง จะปวดหัว , มีไข้ , เจ็บคอ , ปวดเมื่อยตามตัว , หอบ , หายใจหนัก หากอาการมีความรุนแรงขึ้นก็อาจมีอาการในระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน รวมไปถึงอาการเหนื่อยหอบตามความรุนแรงของภาวะขาดออกซิเจนได้

5. โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา

โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา นี้เดิมมีชื่อเรียกว่า ไวรัสที่ก่อโรคในสัตว์กีบ เกิดจากเชื้อไวรัสเฮนดราที่เป็นไวรัสใน genus Henipavirus, family Paramyxovirus พบครั้งแรกเมื่อมีการติดเชื้อในม้า ต่อมาจนถึงปี ค.ศ. 2000 นักวิจัยก็ได้ตรวจพบการติดเชื้อในค้างคาวแม่ไก่ หรือค้างคาวผลไม้ด้วย ไวรัสชนิดนี้จะก่อให้เกิดโรคที่ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เกิดเยื้อหุ้มสมองอักเสบแบบไม่รุนแรง

วิธีสังเกตว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสไฮดรา มีตั้งแต่ปวดศีรษะ , วิงเวียน , เจ็บคอ , ซึมและสับสน ไปจนถึงมีอาการปอดอักเสบที่อาจรุนแรงไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

วิธีป้องกันไม่ให้เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา จะต้องทำความสะอาดมือทุกครั้งหลังจาที่สัมผัสกับสัตว์ ไม่กินเนื้อสัตว์ที่ตายโดยไม่รู้สาเหตุ กินผักและผลไม้ที่สะอาด โดยต้องไม่มีรอยแทะของสัตว์อื่น

ทางที่ดีที่สุด เพื่อป้องกันให้เกิดการติดต่อของ 5 โรคจากค้างคาวที่กล่าวถึงมา ต้องอยู่ให้ห่างจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ส่วนผู้ติดเชื้อจะต้องสวมผ้าปิดปาก-จมูก และเดินทางไปพบแพทย์ พร้อมกับแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีประวัติว่าเคยเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของเชื้อดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย กรีซ และฟิลิปปินส์ หากใครที่จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ก็ให้สวมหน้ากากอนามัยและรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัด

Related Posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save